วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553



รูปแบบการนำเสนอภาพโฆษณา






























1. การอุปมาทางการเห็น (Visual Metaphor)
เป็นการอุปมาเปรียบเทียบของหนังสือที่แสดงให้เห็นว่าอ่านหนังสือเล่มนี้แล้วมองเห็นภาพได้เสมือนจริง







2. การใช้ภาพเหนือจริง (Surrealism)


รูปภาพแสดงว่าคนที่ไม่มีหัวคุยโทรศัพท์ซึ่งเป็นการใช้ภาพเหนือจริง








3. การสร้างความผิดปกติจากของจริง (Violating Reality)


เป็นภาพที่เปรียบผิวหน้าคนเหมือนก้นเด็ก ควรใช้แว่นกันแดด ซึ่งหน้าที่เหมือนก้นเด็กมีความผิดปกติจากของจริง



4. การรวมกันเข้าของสองสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน(Morphing, Blending and Merging)
จากภาพของสองสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกัน คือ แอร์กับไม้ไอศรีมที่ไม่น่าจะเกี่ยวข้องกันได้แต่มาอยู่ด้วยกันได้





5. การใช้มุมกล้องแทนสายตาผู้ดูหรือผู้ถ่าย(Subjective Camera)

6. การล้อเลียน (Visual Parodies)
เป็นภาพล้อเลียน โมนาลิซ่า มีหลายลักษณะที่คล้ายๆกัน ซึ่งจะมีไรบางอย่างผืดแปลกไปจากเดิมหรือแปลกไปจากสิ่งที่เคยเห็น

7. ภาพที่มีขนาดไม่ปกติ (Unusual Size)
เป็นภาพของเด็กกำลังกัดแตงโมที่มีขนาดใหญ่ แตงโมนั้นใหญ่เท่าเด็กหรืออาจใหญ่กว่าเด็ก

วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553



วิเคราะห์ ส่งเสริมสังคม
1. ชื่อเรื่อง (Title)
การเคหะแห่งชาติ(คลองจั่น)
2. ข้อมูลเบื้องต้น (Background) / S W O T
การแปลงสินทรัพย์ให้เป็นทุนเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล เพื่อสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของประเทศ (National Wealth)
และสร้างโอกาสแก่ประชาชนและคนจนให้เข้าถึงแหล่งเงินทุน ในระบบสามารถแปลงสินทรัพย์ที่ตนเองพอมีครอบครองอยู่ให้เป็นทุน
เพื่อก่อให้เกิดกระบวนการสร้างงาน สร้างรายได้ รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการสร้างผู้ประกอบการในธุรกิจรายย่อยใหม่ๆ
โดยมีหลักการสำคัญที่ต้องคำนึงถึงในการแปลงสินทรัพย์เป็นทุน คือ เอกสารแสดงสิทธิของสินทรัพย์แต่ละประเภทต้องเป็นเอกสารแสดงสิทธิ แบบมีเงื่อนไข (Condition Right on Legal Document) และสามารถโอนสิทธิได้ (Transferable) และสินทรัพย์แต่ละประเภทจะต้องดำเนินการจัดระบบฐานข้อมูลให้มีความชัดเจน ถูกต้อง ทันสมัย
จุดแข็ง :การเคหะแห่งชาติเป็นองค์กรหลักในการพัฒนา สนับสนุน ส่งเสริมความมั่นคงในการอยู่อาศัยและการพัฒนาเมืองของประเทศ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ในชุมชน สร้างสรรค์สังคมที่เข้มแข็ง มีคุณภาพ และน่าอยู่อย่างยั่งยืน
จุดอ่อน : รูปแบบบ้านมีขนาดเล็กและไม่เป็นที่ดึงดูดใจ
โอกาส : การเคหะแห่งชาติ มีชื่อเสียงทางด้าน บ้านเอื้ออาทร สำหรับคนมีรายได้น้อย จึงทำให้เป็นที่สนใจของประชาชนทั่วไป
ปัญหา : ปัจจุบัน ธุรกิจ หมู่บ้านจัดสรร มีปริมาณมากขึ้นจึงทำให้การเคหะแห่งชาติ ต้องมีการพัฒนาการทำหมู่บ้านเอื้ออาทรที่น่าสนใจมากขึ้น
3. วัตถุประสงค์ (Objective)
1.เพื่อให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยผู้ครอบครองสิทธิการเช่าอาคารแฟลตของ การเคหะแห่งชาติและไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันในรูปแบบในบัญชีปกติ
ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนโดยสามารถนำสิทธิการเช่าอาคารแฟลตมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันการขอสินเชื่อจากธนาคาร
2.เพื่อให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยได้มีโอกาสลงทุนประกอบการธุรกิจย่อยรายใหม่ๆ เพื่อเป็นการส่งเสริมการสร้างงาน
และเพิ่มรายได้ของประชาชนในระดับพื้นฐานของประเทศ
3.ส่งเสริมและสนับสนุนให้ธนาคาร โดยเฉพาะธนาคารของรัฐเข้ามามีบทบาทหลักในการสนับสนุนการจัดหาทุนในการประกอบธุรกิจรายย่อยของประชาชนผู้มีรายได้น้อย
4.เพื่อให้เป็นกลไกในการกระตุ้นและสร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ให้ขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ (Multiplier Effect)

4. กลุ่มเป้าหมายหลัก (Main Target)

- ประชาชนที่มีรายได้น้อย
- เพศชาย/หญิง 25-40 ปี


5. แนวความคิด (Concept)
ลดรายจ่าย กินอยู่ง่าย ๆ ไม่ฟุ่มเฟือย

6. เหตุผลสนับสนุนแนวคิด (Support)
ในปัจจุบันที่อยู่อาศัยเป็นปัจจัยสำคัญ และอยู่ในช่วงเทคโนโลยีที่อยู่อาศัยมีราคาค่อนข้างสูง การเคหะแห่งชาติจึงเข้ามามีบทบาทในการทำบ้านเอื้ออาทรที่มีราคาถูกทำให้ผู้ที่มีรายได้น้อยสามารถมีที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง


7. อารมณ์และความรู้สึก (Mood & Tone)




- ปลอดภัย









-สบายใจ






- เป็นกันเอง








8. ผลตอบสนอง (Desired response)
-เป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป
-การทำบ้านเอื้ออาทรได้ผลตอบรับดี
-ประสบผลสำเร็จในการช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อยที่ต้องการมีบ้านเป็นของตนเอง

วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553



1. ชื่อเรื่อง (Title)

Disco Supermarket
2. ข้อมูลเบื้องต้น (Background) / S W O T

Advertising Agency: Young & Rubicam, Buenos Aires, Argentina
Executive Creative Director: Martin Mercado
Creative Directors: Mariano Pazos, Sergio Paoletta
Art Directors: Mariano Pazos, Hugo Ruck
Copywriter: Sergio Paoletta
Published: October 2010

- จุดแข็ง : เป็นโฆษณาชี้ให้เห็นว่าขาที่ยาวบอกให้รู้ว่าห้างนี้ตั้งอยู่ทุกที่ที่ใกล้คุณและเป็นงานศิลปะที่สวยความคิดสร้างสรรค์
- จุดอ่อน : คนบางกลุ่มไม่ค่อยสนใจในการโฆษณาแบบนี้
- โอกาส : มีผู้คนสนใจ ในการเข้าไปเลือกซื้อสินค้า
- ปัญหา : มีคู่แข่งมาก
3. วัตถุประสงค์ (Objective)
-เพื่อความประทับใจในการมาเลือกซื้อสินค้าที่ห้างนี้
-เพื่อความสะดวกสบาย ในการที่ไม่ต้องเดินทางไปซื้อสินค้าไกลๆ
4. กลุ่มเป้าหมายหลัก (Main Target)
- เพศชาย/หญิง
-อายุตั้งแต่ 20-35 ปี
5. แนวความคิด (Concept)

There's always a disco close to you.

6. เหตุผลสนับสนุนแนวคิด (Support)
เป็นการโฆษณามีรูปขายาวกำลังเดินก้าไปข้างหน้า ขายาวสื่อให้เห็นถึงว่าห้างดิสโก้มีทั่วทุกที่ใกล้บ้านไม่ต้องเดินทางไลก็สามารถไปเลือกซื้อของที่เราต้องการได้
7. อารมณ์และความรู้สึก (Mood & Tone)
คุ้มค่า/รวดเร็ว/ทันสมัย
8. ผลตอบสนอง (Desired response)

-เป็นที่สนใจของกลุ่มผู้ชื่นชอบในการshopping

วันพุธที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การสื่อสาร

การสื่อสาร หมายถึง กระบวนารการถ่ายทอดสารจากบุคคลหนึ่ง (ผู้ส่งสาร) ไปยังบุคคลหนึ่ง (ผู้รับสาร) โดยผ่านสื่อต่างๆ


เทคนิคการนำเสนอ


แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างสรรค์งานโฆษณา
ในการสร้างสรรค์งานโฆษณาให้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงคืนั้นต้องขึ้นอยู่กับ
1. การวางกลยุทธ์ในการสร้างสรรค์งานโฆษณา
2. การนำเสนอความคิดสร้างสรรค์ในโฆษณา
3. การสร้างสรรค์งานให้โดดเด่นมีประสิทธิภาพอย่างเหมาะสม
แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างสรรค์งานโฆษณา
การนำเสนอความคิดสร้งสรรค์ในโฆษณา Creative Execution
Execution หมายถึง การใส่เนื้อหาลงในงานโฆษณา เป็นการนำเสนอภาพ คำพูดและองค์ประกอบอื่น ๆ ของการสร้งสรรค์ Creative Mix มาผสมผสานกันอย่างมีประสิทธิภาพกับศิลปะและสุนทรี เพื่อให้เกิดการสื่อข้อความที่มีปรสิทธิภาพและประสิทธิผล
1.องค์ประกอบของการสร้างสรรค์งานโฆษณา
2.รูปแบบการนำเสนอภาพโฆษณา
องค์ประกอบของการสร้างสรรค์งานโฆษณา คือ
เพื่อให้งานโฆษณาสามารถบรรลุแนวปราการของขั้นตอนการเลือกการรับรู้ Selective Perception ของผู้บริโภคได้นั้น นอกจากยุทธวิธีในการโฆษณาถูกวางให้เป็นแนวทางแล้ว ทั้งด้านแนวคิด Concept ลีลา Tone จุดเว้าวอน Apeal จุด Selling Point ตลอดจนแนวทางการนำเสนอ
1. ส่วนของคำพูดวัจนภาษา คือถ้อยคำในการส่งสารไปสู่เป้าหมาย ได้แก่ 1. พาดหัวหลัก
2. พาดหัวรอง
3. ข้อความโฆษณา
4. คำบรรยายใต้ภาพ
5. สโลแกน
6. บรรทัดท้าย
7. ชื่อตราสินค้า
2. ส่วนที่ไม่เป็นคำพูด อวัจนภาษา
ได้แก่ 1. ภาพปรกอบ ไม่ต้องมีคำพูด อาจมีภาพสินค้า ภาพที่อธิบายความคิดหรือไม่ต้องมีสินค้าก็ได้ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนได้แก่ ภาพถ่าย ภาพลายเส้น และภาพลายเส้นและภาพถ่ายรวมกันโดยการสร้างเรื่องราวได้ดี
2. การจัดภาพที่ดี มีความสมดุลมีจุดเด่น มีสัดส่วนที่ดี มีที่ว่างที่เหมาะสม
3. โลโก้ การแสดงเอกลักษณ์ของสินค้าเป็นภาพลายเส้น
4. ขนาดสัดส่วน ความเด่น ความแรง เป็นภาพลายเส้น
5. สี อาจจะใช้สีที่เกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ ก็จะใช้น้อยแล้วแต่โฆษณา
6. การใช้ตัวอักษร สามารถให้อารมณ์และบุคลิกกับตัวสินค้าได้เหมือนกัน


ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูล


โดยปกติการเก็บรวบรวมข้อมูล มักจะได้ข้อมูลตามรูปแบบของการเก็บข้อมูลนั้นๆ ทำให้ข้อมูลที่ได้อาจไม่เป็นระเบียบ การนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้อาจทำได้ยาก วิธีการแก้ไขปัญหานี้คือการนำข้อมูลนั้นๆ มาจัดให้เป็นระเบียบ เพื่อให้มองเห็นลักษณะสำคัญของข้อมูลชัดเจนขึ้น เห็นความสัมพันธ์กันในกลุ่มข้อมูลตามความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล สามารถอ่านข้อมูลได้ง่าย และสามารถทำความเข้าใจได้รวดเร็วและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เราเรียกกระบวนการดังกล่าวนี้ว่า การนำเสนอข้อมูล (Data Presentation)

การนำเสนอข้อมูล เป็นการนำเอาข้อเท็จจริง ข้อมูล รายละเอียดต่างๆ ที่เก็บรวบรวมข้อมูลมาจัดให้เป็น ระเบียบ เพื่อมุ่งที่ให้ผู้ใช้ข้อมูลมองเห็นลักษณะสำคัญ ของข้อมูลเหล่านั้น และสามารถอ่านรายละเอียด หรือเปรียบเทียบข้อเท็จจริง ข้อมูล รายละเอียดเหล่านั้นได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และตรงตามความต้องการ ของผู้ใช้ข้อมูล อาจกล่าวได้ว่า วัตถุประสงค์สำคัญของการนำเสนอข้อมูลก็เพื่อจะนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ มาเสนอหรือเผยแพร่ให้ผู้สนใจข้อมูลนั้นๆ ทราบ หรือ สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ได้

การนำเสนอข้อมูลเป็นขั้นตอนในการเตรียมข้อมูลให้พร้อมสำหรับ การวิเคราะห์และการแปลความหมาย สรุปผลข้อมูล เพื่อนำสารสนเทศนั้นไปใช้ใน การตัดสินใจสำหรับการทำงานต่อไป รวมถึงการเลือกวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลจากรูปแบบและลักษณะสำคัญของข้อมูลนั้นๆ ได้ถูกต้องอีกด้วย โดยทั่วไปการนำเสนอข้อมูลอาจทำได้ใน 2 ลักษณะใหญ่ๆ คือ

1. การนำเสนอข้อมูลอย่างไม่เป็นแบบแผน (informal presentation) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลที่ไม่มีกฎเกณฑ์ หรือแบบแผนที่แน่นอนตายตัว เป็นการอธิบายลักษณะของข้อมูลตามเนื้อหาข้อมูล ที่นิยมใช้มีสองวิธีคือ การนำเสนอข้อมูลในรูปบทความหรือข้อความเรียง และการนำเสนอข้อมูล ในรูปบทความกึ่งตาราง

2. การนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นแบบแผน (formal presentation) หมายถึง การนำเสนอข้อมูลที่มีกฎเกณฑ์ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนดไว้เป็นแบบอย่าง การนำเสนอข้อมูลประเภทนี้ที่นิยมคือ การนำเสนอข้อมูลในรูปตาราง การนำเสนอข้อมูลในรูปกราฟหรือแผนภูมิ